กุ้งทะเลจากอวนลอยกุ้งสามชั้นในพื้นที่โครงการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่งโดยชุมชน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
Share
Abstract
การศึกษากุ้งทะเลจากเครื่องมืออวนลอยกุ้งสามชั้นในตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงลักษณะเครื่องมือ แหล่งและฤดูทำการประมงของเครื่องมืออวนลอยกุ้งสามชั้น อัตราการจับ องค์ประกอบชนิดและขนาดของกุ้งทะเลที่จับได้ โดยการสัมภาษณ์ชาวประมงและสุ่มตัวอย่างกุ้งทะเลจากเครื่องมืออวนลอยกุ้งสามชั้นเพื่อแยกชนิด ชั่งน้ำหนักและวัดขนาดกุ้งตัวอย่าง พบว่ามีจำนวนเครื่องมือประมงอวนลอยกุ้งสามชั้นทั้งหมด 56 ครัวเรือน ใช้ประกอบเรือเครื่องหางยาวขนาด 6-9 เมตร ทำการประมงในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่พฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ แต่จะมีการลงแรงประมงมากในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม แหล่งทำการประมงอยู่บริเวณหน้าชุมชนบ้านเกาะเตียบ บ้านน้ำพุ รอบเกาะเอียง เกาะซิกง มีความลึกของน้ำ 5-20 เมตร อัตราการจับสัตว์น้ำในปี 2545 เท่ากับ 6.91 กิโลกรัม/เที่ยว เป็นกุ้งทะเล 3.34 กิโลกรัม/เที่ยว องค์ประกอบของกุ้งทะเลที่จับได้ คือ กุ้งแชบ๊วย, กุ้งโอคัก และกุ้งอื่นๆร้อยละ 77.63, 6.10 และ 16.27 ตามลำดับ ความยาวเฉลี่ยของกุ้งแชบ๊วยและกุ้งโอคักเท่ากับ 15.50 และ 11.01 เซนติเมตรตามลำดับ ในปี 2546 มีอัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ย 6.34 กิโลกรัม/เที่ยว เป็นกุ้งทะเล 5.39 กิโลกรัม/เที่ยว องค์ประกอบของกุ้งทะเลที่จับได้ คือ กุ้งแชบ๊วย, กุ้งโอคัก และกุ้งอื่นๆ ร้อยละ 84.97, 12.62 และ 2.41ตามลำดับ ความยาวเฉลี่ยของกุ้งแชบ๊วย และกุ้งโอคักเท่ากับ 15.73 และ 12.40 เซนติเมตรตามลำดับ โดยอัตราการจับของกุ้งแชบ๊วยที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดจากการปล่อยเสริมพันธุ์ในธรรมชาติ
Suggested Citation
รุ่งเรือง, ร., โรจนะรัตน์, ถ., รัตนพรหม, จ., & ไชยแก้ว, ข. (2547). กุ้งทะเลจากอวนลอยกุ้งสามชั้นในพื้นที่โครงการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่งโดยชุมชน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร. สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม, ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.
Koleksi
- SEAFDEC/TD [85]