ชุดเอกสารเผยแพร่เครื่องมือประมงสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย : หลักการออกแบบเครื่องมือประมงอวนติดตา (Gillnet)
Share
ບົດຄັດຫຍໍ້
อวนติดตา (Gillnet) หรือที่ชาวประมงนิยมเรียกว่า อวนลอย อวนจม อวนติดตา เป็นเครื่องมือประมงที่นิยมใช้ทั้งในประเทศไทย และแพร่หลายทั่วโลก เพราะโครงสร้างอวนไม่ซับซ้อน วิธีทำการประมงไม่ยุ่งยาก มีราคาประหยัด ทำการประมงได้ทั้งประเภทการประมงขนาดเล็ก หรือประมงพื้นบ้านที่ทำการประมงบริเวณชายฝั่ง เช่น อวนปูม้า อวนปลากระบอก อวนสามชั้น และการประมงเชิงพาณิชย์ ทำการประมงห่างฝั่ง มีการติดตั้งเครื่องช่วยทำการประมง เช่น เครื่องกว้านอวน เพื่อลดแรงงานชาวประมงในการทำประมง เช่น อวนติดตาปลาอินทรี อวนติดตาปลาโอ อวนติดตาปลาทู เป็นต้น
อวนติดตามีลักษณะเป็นผืนอวนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประกอบด้วยผืนอวน 1 ถึง 3 ชั้น ประกอบทุ่นลอย (Float) ที่ผูกติดอยู่บริเวณสายคร่าวบน (Head rope หรือ Float rope) และน้ำหนักถ่วง (Sinker) ผูกติดบริเวณคร่าวล่าง (Ground rope) ลักษณะการทำประมงจะปล่อยอวนให้ล่องลอย หรือผูกติดกับเรือ หรือจะผูกกับน้ำหนักถ่วงให้อวนจมอยู่กับที่ก็ได้ ตัวอวนจะลอยอยู่ในน้ำเป็นแนวตั้งหรือแนวดิ่ง สามารถเลือกทำการวางอวนได้ตามชั้นความลึกน้ำ เช่น ผิวน้ำ กลางน้ำ หรือพื้นท้องน้ำ กลไกการจับปลาเป็นลักษณะของการติดอวนบริเวณช่องเปิดเหงือก (Gilling) ติดตาอวน (Enmesh) หรือพันตัวปลา (Entangling) อวนติดตาสามารถจำแนกออกได้หลายประเภท อวนติดตาสามารถใช้ผืนเดี่ยวสั้นๆ จนถึงการต่ออวนผสมกันระหว่างอวนติดตาแบบธรรมดาและอวนสามชั้น อวนอาจจะใช้ผืนเดี่ยว หรือประกอบอวนหลายๆ ผืนต่อกัน
Suggested Citation
สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม, ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. (2566). ชุดเอกสารเผยแพร่เครื่องมือประมงสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย : หลักการออกแบบเครื่องมือประมงอวนติดตา (Gillnet).